เรื่องเล่าจากการทำงาน
ชื่อผลงาน การตรวจมะเร็งปากมดลูกแบบ Delivery
เจ้าของผลงาน นางนิภาพร
อุทาทอง หน่วยงาน ศูนย์สุขภาพชุมชนโรงพยาบาลบ้านผือ
จากการติดตามข้อมูลการตรวจมะเร็งปากมดลูก (PAP SMEAR)ในกลุ่มหญิงวัยเจริญพันธุ์และวัยทอง
พบว่ากลุ่มเป้าหมายที่มารับการตรวจไม่ครอบคลุม
และพบว่าผู้มารับบริการส่วนใหญ่จะเป็นกลุ่มเดิมที่เคยตรวจมาแล้ว ส่วนกลุ่มใหม่ที่ไม่เคยมาตรวจก็พบว่า ยังไม่ตระหนักและเห็นความสำคัญในการตรวจคัดกรอง จึงทำให้ได้ข้อมูลการตรวจที่ซ้ำรายเดิม และได้ผลงานน้อย ดังนั้นจะเห็นได้ว่ากลุ่มเป้าหมายที่ทางกระทรวงสาธารณสุข
กำหนดให้นั้น เป็นเพียงกลุ่มน้อยเท่านั้น
เมื่อเทียบกับกลุ่มหญิงวัยเจริญพันธ์ (20-35
ปี) และวัยทอง
(36-59 ปี) ทั้งหมด จากการทำโครงการออกตรวจที่ผ่านมาส่วนใหญ่จะเน้นตรวจในเชิงรับ คือ ประชาสัมพันธ์ในหมู่บ้าน แล้วรอตรวจในโรงพยาบาล ต่อมาได้มีการปรับเปลี่ยนกลยุทธ์ในการทำงานใหม่
โดยเน้นการทำงานเชิงรุกและการสร้างเครือข่ายในชุมชน อีกทั้งการสร้างเสริมกำลังใจ หรือ
การใช้ปัจจัยแรงบวก เช่น
มีของแจกเพื่อเป็นกำลังใจ ในการดึงดูดความสนใจของกลุ่มเป้าหมาย โดยมีการออกตรวจเชิงรุกในหมู่บ้าน มีการประชาสัมพันธ์ผ่านทางเครือข่าย อสมช.
รายบุคคล
อีกทั้งมีการติดตามเก็บตกวันต่อวัน
มีบริการแจ้งผลการตรวจผ่านทาง อสมช.ถึงกลุ่มเป้าหมายรายบุคคล มีแผนเฝ้าระวังและติดตามกลุ่มเป้าหมายที่มีความเสี่ยงของเซลล์บริเวณปากมดลูกชัดเจน เช่น
กลุ่มที่มีการอักเสบบริเวณปากมดลูก
จะนัดมาให้คำแนะนำในการปฏิบัติตัวที่ถูกต้องและนัดตรวจซ้ำทุก 6
เดือน
กลุ่มที่มีการติดเชื้อบริเวณช่องคลอดก็มีการนัดมาพบแพทย์เพื่อรักษาและนัดตรวจซ้ำทุก 6
เดือน
ส่วนกลุ่มที่มีผลเซลล์ผิดปกติก็มีการติดตามมารับคำปรึกษาและส่งตัวไปพบแพทย์เฉพาะทางเพื่อรักษาตามขั้นตอน มีการออกเยี่ยมบ้านทุกราย ในรายที่แพทย์วินิจฉัยว่าเป็นมะเร็งปากมดลูกรายใหม่
อีกทั้งติดตามการรักษาและการปฏิบัติตัวหลังกลับจากโรงพยาบาล เพื่อให้คำแนะนำและให้กำลังใจในการปรับตัวให้อยู่กับโรคที่เป็นอยู่อย่างเหมาะสมมากที่สุด จึงทำให้ได้ ผลงานบรรลุตามเป้าหมายตัวชี้วัดที่ตั้งไว้ทุกปี แต่จากการวิเคราะห์ผลงานที่ผ่านมายังพบจุดอ่อนที่จะต้องพัฒนาต่อไปคือ
ผลงานยังไม่บรรลุเป้าหมายความครอบคลุมประชากรกลุ่มหญิงวัยเจริญพันธ์ทั้งหมด
ดังนั้นจึงต้องมีการปรับปรุงและสานต่อโครงการให้มีความต่อเนื่องและเข้าถึงชุมชุมให้มากยิ่งขึ้น โดยอาศัยเครือข่ายที่มีคุณภาพอย่างยั่งยืน
จะต้องมีการพัฒนาระบบการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก ให้มีความสะดวก รวดเร็วและสามารถเข้าถึงบริการได้อย่างมีประสิทธิภาพ
และอยู่ในช่วงเวลาที่มีความเหมาะสมกับชีวิตความเป็นอยู่ของประชากรในชุมชน
บทเรียนจากการทำงาน
1. การนำข้อมูลส่วนดีและส่วนขาดมาทบทวนและวิเคราะห์หาสาเหตุและที่มาของปัญหา
ทำให้ได้มีการพัฒนาระบบบริการให้มีความเหมาะสมและมีประสิทธิภาพมากขึ้นอย่างต่อเนื่อง และยั่งยืน
2. การเรียนรู้งานร่วมกันแบบเป็นทีมหรือมีครือข่ายที่ชัดเจน จะทำให้การดำเนินงานเป็นไปอย่างราบรื่น
และไม่เหนื่อยจนเกินไป
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น