หน้าเว็บ

06 มีนาคม 2557

การศึกษาภาวะซึมเศร้าและภาวะวิตกกังวลของผู้ป่วยเบาหวานในชุมชน A Study of Depression and Anxiety among Diabetic Patients



การวิจัยเรื่อง พฤติกรรมดูแลตนเองเพื่อป้องกันภาวะแทรกซ้อนที่เท้าของผู้ป่วยโรคเบาหวาน และผู้ป่วยโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านดงหวาย ตำบลหายโศก อำเภอบ้านผือ จังหวัดอุดรธานี



ปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมเสี่ยงทางเพศของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้นโรงเรียนรัฐบาลแห่งหนึ่งในเขตพื้นที่ตำบลหนองแวง อำเภอบ้านผือ จังหวัดอุดรธานี


การประเมินความครอบคลุมการได้รับวัคซีนพื้นฐานของเด็กที่มีอายุครบ 1 ปี ในเขตพื้นที่รับผิดชอบโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลคำด้วง อำเภอบ้านผือ จังหวัดอุดรธานี


การมีส่วนร่วมของผู้นำชุมชนในการสร้างสุขภาพ รพ.สต.บ้านโนนสะอาด ตำบลเขือน้ำ อำเภอบ้านผือ จังหวัดอุดรธานี


การศึกษามีส่วนร่วมของชุมชนในการควบคุมและป้องกันโรคไข้เลือดออกในเขตรับผิดชอบของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลโนนทอง



พฤติกรรมการดูแลสุขภาพของผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ที่มารับบริการคลินิกเบาหวาน โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านม่วง ตำบลจำปาโมง อำเภอบ้านผือ จังหวัดอุดรธานี


พฤติกรรมการดูแลสุขภาพของผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ในพื้นที่รับผิดชอบของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลสระคุ ตำบลหนองหัวคู อำเภอบ้านผือ จังหวัดอุดรธานี ปี 2556



ปัจจัยที่มีผลต่อการส่งเสริมสุขภาพเพื่อลดปัจจัยเสี่ยงจากโรคความดันโลหิตสูงของชุมชน ในเขตบริการโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลหนองกาลึม ตำบลเมืองพาน อำเภอบ้านผือ จังหวัดอุดรธานี


พฤติกรรมการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกของประชาชน ตำบลกลางใหญ่ อำเภอบ้านผือ จังหวัดอุดรธานี


การมีส่วนร่วมของชุมชนในการควบคุมและป้องกันโรคไข้เลือดออก


วิถีทางความเจ็บป่วยและความต้องการ การสนับสนุนการจัดการตนเองในชุมชนของผู้ป่วยไตวายเรื้อรังระยะสุดท้ายที่รักษาด้วยวิธีการขจัดของเสียทางเยื่อบุช่องท้อง


ผลของโปรแกรมการพัฒนาพฤติกรรมเพื่อป้องกันภาวะแทรกซ้อนโรคไตในผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 โรงพยาบาลบ้านผือ อำเภอบ้านผือ จังหวัดอุดรธานี


ความพึงพอใจของผู้มารับบริการในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านเทื่อม อำเภอบ้านผือ จังหวัดอุดรธานี

ชื่อเรื่อง     ความพึงพอใจของผู้มารับบริการในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านเทื่อม อำเภอบ้านผือ จังหวัดอุดรธานี
ผู้ศึกษา           ทีมวิจัยโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพบ้านเทื่อม

บทคัดย่อ
           การศึกษาครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความพึงพอใจของผู้มารับบริการในโรงพยาบาลส่งเสริมตำบลบ้านเทื่อม  อำเภอบ้านผือ จังหวัดอุดรธานี เป็นการวิจัยเชิงสำรวจ (Survey Research) ประชากรที่ใช้ในการศึกษา คือ ผู้ที่มารับบริการ จำนวน 275 คน สถิติที่ใช้ในการศึกษา คือ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการศึกษา พบว่าความพึงพอใจของผู้มารับบริการในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านเทื่อม ส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง ร้อยละ 74.50 มีอายุเฉลี่ย 44.32 สถานภาพสมรส (คู่) ร้อยละ 84.40 ระดับการศึกษา จบการศึกษาในระดับประถมศึกษา ร้อยละ 68.40 มีอาชีพหลัก คือ เกษตรกรรม/ทำนา ร้อยละ 65.80 รายได้เฉลี่ย 8,593.82 บาท สิทธิในการรักษาพยาบาล ส่วนใหญ่ใช้บัตรประกันสุขภาพถ้วนหน้า ร้อยละ 3.10 การมารับบริการที่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล ส่วนใหญ่มารับบริการ 1 ครั้ง ร้อยละ 47.30 เหตุผลในการมารับบริการโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล คือ อยู่ใกล้บ้าน ร้อยละ 78.20

ความพึงพอใจของผู้มารับบริการในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านเทื่อม อำเภอบ้านผือ จังหวัดอุดรธานี พบว่า ความพึงพอใจทั้ง 4 ด้าน อยู่ระดับพึงพอใจมาก ด้านการให้บริการ ร้อยละ 50.50 ด้านคุณภาพบริการ ร้อยละ 66.20 ด้านเจ้าหน้าที่หรือผู้ให้บริการ ร้อยละ 67.60 ด้านสิ่งอำนวยความสะดวก ร้อยละ 68.40

การรับรู้เรื่องภาวะแทรกซ้อน การดูแลสุขภาพตนเองของผู้ป่วยเบาหวานขึ้นทะเบียนรับบริการที่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลข้าวสารอำเภอบ้านผือ จังหวัดอุดรธานี

ชื่อเรื่อง      การรับรู้เรื่องภาวะแทรกซ้อน การดูแลสุขภาพตนเองของผู้ป่วยเบาหวาน
              ขึ้นทะเบียนรับบริการที่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลข้าวสาร 
              อำเภอบ้านผือ จังหวัดอุดรธานี

ผู้วิจัย        นางสาวนภาพร    หล้าทุม   

บทคัดย่อ

            การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการรับรู้เรื่องภาวะแทรกซ้อน การรับรู้เรื่องการดูแลสุขภาพตนเองของผู้ป่วยเบาหวานขึ้นทะเบียนรับบริการที่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลข้าวสาร  อำเภอบ้านผือ จังหวัดอุดรธานี และเพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่าง รับรู้เรื่องภาวะแทรกซ้อนและการรับรู้เรื่องการดูแลสุขภาพตนเองต่อการเกิดภาวะแทรกซ้อนโรคเบาหวาน เป็นการศึกษาเชิงพรรณนา (Descriptive  study) โดยสัมภาษณ์ผู้ป่วยเบาหวานที่ขึ้นทะเบียนรับการรักษาที่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลข้าวสาร  อำเภอบ้านผือ จังหวัดอุดรธานี จำนวน 143 ราย สถิติที่ใช้ คือ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าต่ำสุด ค่าสูงสุด และ Chi - square
              ผลการศึกษาพบว่า ผู้ป่วยเบาหวานที่ศึกษาส่วนใหญ่เป็นเพศหญิงร้อยละ 68.58  อายุ
ระหว่าง 40 – 60 ปี ร้อยละ 48.95 อายุต่ำสุด 36 ปี อายุมากที่สุด 88 ปี สมรสคู่ ร้อยละ 71.33 รองลงมา คือหม้าย ร้อยละ 19.58 จบการศึกษาระดับประถมศึกษา ร้อยละ 82.51 มีอาชีพเกษตรกรรม ร้อยละ 55.24  ส่วนใหญ่มีรายได้เฉลี่ย น้อยกว่า 5,000 ร้อยละ80.42  มีระยะเวลาป่วยด้วยโรคเบาหวาน 5-10 ปี ร้อยละ 64.33  ผู้ป่วยเบาหวานดูแลตนเองร้อยละ 66.43  มีภาวะแทรกซ้อนโรคเบาหวาน ร้อยละ 79.72 โรคแทรกซ้อนที่พบ ความดันโลหิตสูง ร้อยละ 71.33 รองลงมาคือ ชาตามปลายมือ ปลายเท้า ร้อยละ 44.06  การรักษารับประทานยามากกว่า 1 ชนิด ร้อยละ 79.72 ไม่สูบบุหรี่ร้อยละ 86.71 ไม่ดื่มสุราหรือเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ร้อยละ 90.21 และไม่ดื่มกาแฟหรือเครื่องดื่มผสมน้ำตาล ร้อยละ 78.32  จากผลการศึกษาการรับรู้ภาวะแทรกซ้อนของผู้ป่วยเบาหวานโดยรวมอยู่ในระดับสูงเมื่อแยกรายด้านพบว่า  การรับรู้โอกาสเสี่ยงต่อการเกิดโรคแทรกซ้อน การรับรู้ความรุนแรงของโรคต่อการเกิดภาวะแทรกซ้อน การรับรู้ถึงประโยชน์ที่จะได้รับจากการป้องกันภาวะแทรกซ้อน อยู่ในระดับสูง และการรับรู้อุปสรรคต่อการป้องกันภาวะแทรกซ้อนอยู่ในระดับปานกลาง  พบว่ามีการดูแลสุขภาพตนเองโดยรวมอยู่ในระดับสูง เมื่อแยกรายด้านเป็นดังนี้ ด้านรับประทานอาหาร ด้านการออกกำลังกาย ด้านการรับประทานยา ด้านการดูแลเท้า ด้านการดูแลสุขภาพทั่วไปอยู่ในระดับสูง ด้านที่มีการดูแลสุขภาพตนเองในการป้องกันภาวะแทรกซ้อนระดับสูงสุดคือ ด้านการรับประทานยา  ด้านความสัมพันธ์ระหว่างการรับรู้เรื่องภาวะแทรกซ้อนกับการเกิดภาวะแทรกซ้อนโรคเบาหวาน ในด้านการรับรู้โอกาสเสี่ยง การรับรู้ความรุนแรง การรับรู้ถึงประโยชน์ และ การรับรู้อุปสรรคไม่มีความสัมพันธ์กัน ที่ระดับนัยสำคัญ 0.05 ส่วนการรับรู้เรื่องการดูแลสุขภาพตนเอง  ด้านการดูแลสุขภาพเท้า ด้านการออกกำลังกาย ด้านการดูแลเท้า ด้านการรับประทานยา ด้านการดูแลสุขภาพทั่วไปกับการเกิดภาวะแทรกซ้อนโรคเบาหวานไม่มีความสัมพันธ์กันที่ระดับนัยสำคัญ 0.05  

ซึ่งแสดงให้เห็นว่าการเกิดภาวะแทรกซ้อนโรคเบาหวานไม่ได้ขึ้นอยู่กับการรับรู้ภาวะแทรกซ้อน และการรับรู้เรื่องการดูแลสุขภาพเพียงอย่างเดียว แต่อาจมีปัจจัยด้านอื่นๆ เช่น พฤติกรรม ความเชื่อของสังคม และบริบทด้านอื่นๆ ที่ส่งผลต่อการเกิดภาวะแทรกซ้อน และในด้านการรับรู้อุปสรรคของผู้ป่วยเบาหวานอยู่ในระดับปานกลาง ควรให้เจ้าหน้าที่สาธารณสุขที่เกี่ยวข้องมีการจัดให้สุขศึกษา ออกเยี่ยมบ้านและให้คำแนะนำเรื่องการบริโภคอาหารอย่างใกล้ชิด แนะนำเรื่องที่เป็นอุปสรรคต่อการป้องกันภาวะแทรกซ้อน เช่น เรื่องการรับประทานข้าวเหนียว การไม่ออกกำลังกาย  การรู้สึกเหมือนถูกบังคับเมื่อรับประทานอาหารให้ตรงเวลา  การไม่รับประทานยาอย่างสม่ำเสมอ การไม่จำเป็นต้องรู้ชื่อยา การสูบบุหรี่ เพื่อสร้างความรู้ความเข้าใจ ลดภาวะแทรกซ้อน และลดอุปสรรคต่อการป้องกันภาวะแทรกซ้อนของผู้ป่วยเบาหวานให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น

ผู้ให้ข้อมูลร่วมกัน